มะพร้าว
มะพร้าว ผลไม้ที่กล่าวกันว่ามีสรรพคุณทางการรักษานานัปการ ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันคอเลสเตอรอล ป้องกันและรักษาภาวะขาดน้ำจากการถ่ายท้องหรือออกกำลังกาย เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ ทั้งยังมีรสชาติอร่อย หารับประทานได้ง่าย และเป็นส่วนประกอบในหลากหลายเมนูอาหาร มะพร้าวจึงกลายเป็นผลไม้ยอดนิยมของคนทุกเพศทุกวัย
ในประเทศไทยมีมะพร้าวหลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่นิยม คือ มะพร้าวน้ำหอม เพราะรสชาติหวานกลมกล่อม เนื้ออ่อนนิ่ม และมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ จึงรับประทานได้ทั้งน้ำทั้งเนื้อ ส่วนมะพร้าวชนิดอื่น ๆ คนมักใช้ประโยชน์จากเนื้อมากกว่าน้ำ โดยนำมาประกอบอาหารหรือแปรรูป เช่น แป้งมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว โดยน้ำและเนื้อมะพร้าวมีสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกัน ดังนี้
- น้ำมะพร้าว 100 กรัม ให้พลังงาน 16 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยน้ำเป็นหลัก และมีสารอาหารชนิดอื่น ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น โพแทสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม แมงกานีส เป็นต้น
- เนื้อมะพร้าว 100 กรัม ให้พลังงาน 81 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่าง ๆ คล้ายกับที่พบในน้ำมะพร้าว แต่มีส่วนประกอบหลักเป็นไขมันอิ่มตัวและคาร์โบไฮเดรต ฉะนั้น การบริโภคเนื้อมะพร้าวในปริมาณมากอาจส่งผลต่อระดับไขมันในเลือด เนื่องจากร่างกายคนเราควรได้รับไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 7 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณพลังงานที่ต้องการ/วัน หรือประมาณ 16 กรัมนั่นเอง
การเลือกรับประทานมะพร้าวส่วนใดก็ตาม ผู้บริโภคควรพิจารณาปริมาณสารอาหารที่ได้รับด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพยิ่งควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ควรศึกษาข้อมูลหรือปรึกษาแพทย์อย่างถี่ถ้วนก่อน เพราะมีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมะพร้าวหลากหลายรูปแบบซึ่งมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน เช่น น้ำมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว และกะทิ โดยกะทิเป็นน้ำที่คั้นจากเนื้อมะพร้าว และมักถูกใช้เป็นส่วนผสมหลักในอาหารประเภทแกง ส่วนน้ำมันมะพร้าวนั้นสกัดจากกะทิหรือเนื้อมะพร้าวแห้ง นิยมนำมาทำอาหาร ดูแลผิวพรรณ หรือใช้เป็นสารหล่อลื่น ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ต่างมีไขมันอิ่มตัวสูง การบริโภคในปริมาณมากจึงอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้
สรรพคุณทางการรักษาของมะพร้าว มีการกล่าวอ้างถึงคุณประโยชน์ของมะพร้าวที่มีต่อสุขภาพอย่างหลากหลาย มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บางส่วนได้พิสูจน์ไว้พอสมควรว่ามะพร้าวมีประโยชน์ดังนี้
ลดคอเลสเตอรอล นอกจากการออกกำลังกายและการปรับพฤติกรรมด้านอื่น ๆ อาหารถือเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลสูงซึ่งเป็นภาวะที่นำมาสู่โรคร้ายต่าง ๆ ได้ โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีกากใยมาก และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลลงได้
มะพร้าวแปรรูปอย่างแป้งมะพร้าวอุดมไปด้วยกากใยอาหารที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ให้อาสาสมัครทดลองรับประทานอาหาร 3 ชนิด ชนิดละ 2 สัปดาห์ตามลำดับ ได้แก่ คอร์นเฟลก รำข้าวโอ๊ตอบแห้ง และคอร์นเฟลกร่วมกับอาหารจากแป้งมะพร้าว ผลลัพธ์พบว่าผู้เข้าร่วมทดลองมีระดับไขมันรวม ไขมันชนิดเลว และไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในทุกช่วงระยะการทดลอง แต่ในช่วงที่ได้รับประทานคอร์นเฟลกนั้น ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับไตรกลีเซอร์ไรด์อย่างชัดเจน
จากการทดลองดังกล่าว แม้พอจะบอกได้ว่าการรับประทานแป้งมะพร้าวน่าจะช่วยให้ระดับไขมันในเลือดลดลงได้ แต่แป้งมะพร้าวที่ถูกนำมาทดลองได้ผ่านการแปรรูปและสกัดไขมันออกไปแล้ว ทำให้มีไฟเบอร์และโปรตีนสูง ในขณะที่มีไขมันต่ำ ดังนั้น จึงไม่อาจสรุปได้ว่ามะพร้าวในรูปแบบอื่น ๆ เช่น กะทิ หรือน้ำมันมะพร้าว จะมีประสิทธิผลเช่นเดียวกันหรือไม่ และยังมีข้อโต้แย้งระหว่างผลดีกับผลเสียจากมะพร้าวรูปแบบต่าง ๆ อยู่ ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังและไม่รับประทานมะพร้าวในปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวชนิดที่มีไขมันสูง เพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานเกินความต้องการ และอาจส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นหรือเกิดภาวะอ้วนได้
ลดความดันโลหิตสูง ภาวะความดันโลหิตสูงเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดย 1 ในปัจจัยที่ทำให้ความดันโลหิตสูง คือ ร่างกายมีระดับโพแพสเซียมต่ำ จนทำให้ไม่สามารถควบคุมปริมาณโซเดียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดอาการบวมน้ำและความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นตามมาในที่สุด มีการศึกษาบางส่วนระบุว่าโพแทสเซียมมีส่วนช่วยลดความดันโลหิต ดังนั้น การรับประทานมะพร้าวซึ่งอุดมไปด้วยโพแทสเซียมจึงน่าจะเป็นผลดีกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จึงมีงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของมะพร้าวในด้านนี้ โดยมีการค้นคว้าหนึ่งให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทดลองดื่มน้ำมะพร้าว เปรียบเทียบกับการดื่มเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ได้แก่ น้ำเปล่า เครื่องดื่มจากเปลือกไม้ หรือน้ำมะพร้าวผสมกับเครื่องดื่มจากเปลือกไม้ แล้วดูการเปลี่ยนแปลงค่าความดันโลหิตหลังจากผ่านไป 2 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ดื่มน้ำมะพร้าวความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Pressure) หรือค่าความดันตัวบนลดลงมากที่สุด ส่วนกลุ่มอื่นที่เหลือมีค่าดังกล่าวลดลงในระดับใกล้เคียงกัน ส่วนค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิก (Diastolic Pressure) หรือค่าความดันตัวล่างนั้น พบว่าทั้งกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มจากเปลือกไม้ผสมกับน้ำมะพร้าว หรือกลุ่มที่ดื่มน้ำมะพร้าวเพียงอย่างเดียวล้วนมีค่าความดันตัวล่างลดลงด้วยเช่นกัน ดังนั้น นักวิจัยจึงคาดว่าการดื่มน้ำมะพร้าวอาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคความดันโลหิตได้ อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้เป็นเพียงงานวิจัยขนาดเล็ก จึงควรทดลองในกลุ่มทดลองขนาดใหญ่ขึ้น และค้นคว้าเพิ่มเติมถึงกลไกการเปลี่ยนแปลงค่าความดันโลหิตทั้ง 2 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับการดื่มน้ำมะพร้าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
บรรเทาอาการโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน คือ ผู้ที่ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่อสารอินซูลินหรือบกพร่องในการผลิตอินซูลิน ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ง่ายจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การเลือกบริโภคอาหารที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลง แป้งจากมะพร้าวเป็นอาหารอีกชนิดที่มีกากใยสูงแต่มีไขมันต่ำ จึงอาจมีประโยชน์ต่อการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ โดยมีงานวิจัยหนึ่งได้วัดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานและคนปกติหลังจากรับประทานเบเกอรี่ที่มีส่วนผสมจากแป้งมะพร้าว ผลจากงานวิจัยดังกล่าวพบว่า อาหารที่มีส่วนประกอบจากแป้งมะพร้าวในปริมาณมากส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ทดลองลดต่ำลง ซึ่งอาจเป็นเพราะแป้งมะพร้าวมีปริมาณเส้นใยอาหารสูงกว่าแป้งปกติ ดังนั้น แป้งมะพร้าวจึงอาจเป็นอีกทางเลือกการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ แต่ผู้บริโภคควรจำกัดปริมาณไขมันและแคลอรี่โดยรวมควบคู่ไปด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ และช่วยควบคุมอาการของโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาในกลุ่มคนจำนวนน้อย จึงควรศึกษาสรรพคุณในด้านดังกล่าวเพิ่มเติมให้ชัดเจนก่อนประยุกต์ใช้จริงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อไป
ป้องกันภาวะขาดน้ำจากการออกกำลังกาย ภาวะขาดน้ำ คือ ภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ได้รับ ทำให้รู้สึกกระหายน้ำและมีอาการต่าง ๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากอาการท้องเสีย อาเจียน และการออกกำลังกายอย่างหนักเป็นเวลานาน โดยน้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มที่ดื่มง่าย ช่วยดับกระหาย เพิ่มความสดชื่น และยังมีแร่ธาตุหลายชนิด ดังนั้น การดื่มน้ำมะพร้าวจึงอาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำจากการสูญเสียเหงื่อหลังการออกกำลังหรือเล่นกีฬา และอาจป้องกันอาการชักซึ่งเป็น 1 ในอาการของภาวะขาดน้ำอันเป็นผลมาจากแร่ธาตุในร่างกายอย่างโพแทสเซียมและโซเดียมอยู่ในระดับที่ไม่สมดุล
มีการศึกษาหนึ่งได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการดื่มน้ำมะพร้าวสด เครื่องดื่มเกลือแร่ และน้ำเปล่าในอาสาสมัครเพศชายสุขภาพแข็งแรง ผลการทดลองพบว่าการดื่มน้ำมะพร้าวสดช่วยชดเชยการสูญเสียน้ำจากร่างกายได้ใกล้เคียงกับน้ำเปล่าและเครื่องดื่มเกลือแร่ โดยช่วยเพิ่มความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดและชดเชยการสูญเสียเกลือแร่ได้ดีกว่าน้ำเปล่า รวมทั้งช่วยให้อิ่มท้องได้นาน ลดอาการคลื่นไส้ และไม่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียแม้ดื่มในปริมาณมากเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดื่ม 2 ชนิดที่เหลือ
เช่นเดียวกันกับการศึกษาอีกชิ้นที่ระบุว่าน้ำมะพร้าวช่วยลดการสูญเสียน้ำหลังออกกำลังกาย เพิ่มความสดชื่น และแก้กระหายน้ำได้ดี แต่งานวิจัยนี้กลับพบว่าผู้ทดลองบางรายมีอาการท้องอืดและท้องเสียด้วย
จากหลายการทดลองที่ผ่านมาทำให้พอจะกล่าวได้ว่า น้ำมะพร้าวอาจเป็นเครื่องดื่มทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ชอบออกกำลังกายซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะขาดน้ำได้ดี แต่ผู้บริโภคควรเลือกดื่มน้ำมะพร้าวที่ถูกหลักสุขอนามัยในปริมาณที่พอดี เพราะน้ำมะพร้าวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงบางประการดังที่กล่าวไปแล้วได้เช่นกัน
บรรเทาภาวะขาดน้ำจากอาการท้องเสีย ผู้ที่มีอาการท้องเสียเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำและขาดเกลือแร่ได้ง่าย เนื่องจากถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่าปกติจนลำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้ตามปกติ ซึ่งบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนช็อกและหมดสติได้ น้ำมะพร้าวจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่เผชิญภาวะนี้ เพราะมีสารอาหารจำเป็น เช่น วิตามิน และเกลือแร่ต่าง ๆ ที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที จึงอาจช่วยชดเชยการสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากการถ่ายท้องที่ไม่รุนแรงได้ โดยมีวิจัยชิ้นหนึ่งทดลองให้เด็กที่มีอาการถ่ายเหลวไม่รุนแรงดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน ผลลัพธ์พบว่าน้ำมะพร้าวอ่อนอาจเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยบรรเทาภาวะขาดน้ำสำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสียในระยะแรกที่มีอาการไม่รุนแรงได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ควรใช้น้ำมะพร้าวอ่อนเพื่อบรรเทาภาวะขาดน้ำในผู้ใหญ่ จนกว่าจะมีผลการศึกษาที่สามารถยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยในด้านนี้อย่างแน่ชัด
ส่วนการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมะพร้าวที่เก็บจากต้นทุกเดือน เริ่มตั้งแต่ต้นมะพร้าวมีอายุ 5 เดือน ไปจนถึงอายุ 12 เดือน พบว่าน้ำมะพร้าวมีโซเดียมที่อาจทดแทนแร่ธาตุจากอาการท้องเสียและอาจช่วยบรรเทาภาวะขาดน้ำได้ แต่ระดับความเข้มข้นของโซเดียมและน้ำตาลในน้ำมะพร้าวมีความแตกต่างกันไปในแต่ละเดือน ดังนั้น ผู้ป่วยท้องเสียอาจไม่ได้รับเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียเสมอไป
สำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสีย วิธีบรรเทาอาการที่แพทย์แนะนำ คือ ควรดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่โออาร์เอส แต่ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับการออกกำลังกาย หากจำเป็นควรใช้เฉพาะยามฉุกเฉินเท่านั้น เพราะเครื่องดื่มแต่ละยี่ห้อมีปริมาณแร่ธาตุและน้ำตาลแตกต่างกัน จึงอาจไปกระตุ้นให้อาการท้องเสียรุนแรงมากกว่าเดิมได้ และหากท้องเสียอย่างรุนแรงหรืออาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา
รับประทานมะพร้าวอย่างไรให้ปลอดภัย
แม้มะพร้าวมีคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์มากมาย และการรับประทานมะพร้าวค่อนข้างปลอดภัยต่อสุขภาพหากรับประทานในรูปแบบอาหารหรือเครื่องดื่มในปริมาณที่เหมาะสม แต่ปัจจุบันข้อมูลสนับสนุนสรรพคุณของมะพร้าวต่อการรักษาโรคต่าง ๆ ยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร จึงไม่อาจยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยได้อย่างชัดเจน 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการรับประทานมะพร้าว โดยเฉพาะผู้ที่กำลังมีปัญหาสุขภาพ ควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการบริโภคเสมอ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
- รับประทานมะพร้าวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าวในปริมาณที่พอดี
- สังเกตสัญญาณอาการแพ้ เพราะบางคนอาจมีอาการแพ้หลังจากรับประทานมะพร้าว เช่น คันตามตัว มีผื่นขึ้น หายใจลำบาก เป็นต้น
- ควรเลือกดื่มน้ำมะพร้าวสด เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมะพร้าวสำเร็จรูป แต่หากต้องดื่มน้ำมะพร้าวสำเร็จรูป ควรเปรียบเทียบส่วนผสมก่อนเลือกดื่มแต่ละยี่ห้อ โดยเฉพาะปริมาณน้ำตาล
- ผู้ป่วยที่ต้องจำกัดปริมาณการบริโภคโซเดียม ควรรับประทานอาหารจากมะพร้าว โดยเฉพาะกะทิหรืออาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบอย่างระมัดระวัง
- ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานมะพร้าวและผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากมะพร้าวก่อนบริโภค เพราะปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอรับรองความปลอดภัยในการรับประทานมะพร้าวขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- น้ำมะพร้าวอาจส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงและขัดขวางการออกฤทธิ์ของยาลดความดันโลหิตได้ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานมะพร้าวหรือน้ำมะพร้าว
- ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดควรหยุดบริโภคน้ำมะพร้าวอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
ประโยชน์หลักๆของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
1. ใช้เป็น Oil Pulling หรือการกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าว เป็นการชําระล้างสิ่งสกปรกภายในช่องปาก รวมถึงฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง
2. ใช้ล้างพิษ หรือการ Detox ด้วยการรับประทานน้ำมันมะพร้าว เพราะน้ำมันมะพร้าวประกอบไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวหลายชนิดที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค และทําลายสารพิษในร่างกาย
3. กระตุ้นการขับถ่าย น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัวซึ่งมีคุณสมบัติในการเร่งระบบเผาพลาญ ทําให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายสูงขึ้น ทําให้การขับถ่ายดีขึ้น
4. ให้พลังงานแก่ร่างกายและสมอง น้ำมันมะพร้าวเป็นแหล่งพลังงานที่ประกอบไปด้วยโมเลกุลขนากเล็กซึ่งย่อยได้ง่าย เมื่อรับประทานแล้วไปเป็นพลังงานทันที ไม่มีการสะสมของไขมัน คนเป็นเบาหวานนิยมรับประทานเพราะจะได้รับพลังงานที่สามารถนําไปใช้ได้ทันทีโดยไม่มีการกักเก็บไขมัน และไม่มีน้ำตาล
5. บํารุงผิว เพราะในน้ำมันมะพร้าวมีวิตามิน E สูงที่มีฤทธิ์ช่วยในการยกกระชับผิวให้ดูอ่อนเยาว์ สามารถลดรอยหมองคล้ำ ลดการเกิดริ้วรอย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยให้ผิวดูอ่อนเยาว์ และยิ่งกินคู่กับกระเทียมจะทําให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. บํารุงริมฝีปาก เมื่อทาน้ำมันมะพร้าวลงบนริมฝีปากทุกวันจะทําให้ริมฝีปากมีความชุ่มชื่น
7. เช็ดเครื่องสําอางค์ น้ำมันมะพร้าวมีโมเลกุลขนาดเล็กทําให้สามารถชําระล้างสิ่งสกปรกไดล้ำลึก โดยไม่ทิ้งสารเคมีตกข้าง
8. บํารุงผม โดยการหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาทีก่อนล้างอ่อน จะช่วยทําให้ผมเงางาม รักษาอาการแตกปลาย ลดการขาดหลุดร่วงของเส้นผม
-
ใบย่านาง สมุนไพรโบราณสุดมหัศจรรย์ที่เปี่ยมสรรพคุณทางยา และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ย่านาง เป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่โบราณในการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงการนำมาทำอาหารหลากหลายชนิด ซึ่...
-
เตย หรือ เตยหอม ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangเตย ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pandanus odorus Ridl.) จัดอยู่ในวงศ์เตยท...
-
ใบบัวบก บัวบก ชื่อสามัญGotu kola บัวบก ชื่อวิทยาศาสตร์Centella asiatica (L.) Urb. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAEหรือUMBELLIFERAE) สมุนไพรบัวบกมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหน...
-
เสลดพังพอนตัวเมีย เสลดพังพอนตัวเมีย ชื่อสามัญSnake Plant[8] เสลดพังพอนตัวเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Clinacanthus burmanni Nees, ...
-
ขมิ้นหรือขมิ้นชันชื่อสามัญ Turmeric ขมิ้น ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma longa L. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) ขมิ้นเป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้า...
-
ไพลหรือว่านไพลชื่อสามัญ Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root สมุนไพรไพลมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ ไพลเหลือง (ภาคกลาง), ปูเลย ปูลอย (ภาคเห...
-
ส้มแขกเป็นผลไม้ขนาดเล็กที่มีรสเปรี้ยว มักนิยมนำมาเพิ่มรสชาติให้กับอาหารจากทางภาคใต้ เช่น แกงส้ม ต้นยำ ปลาต้มเค็ม เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากความอร่อยแล้ว นักวิจัยยังเชื่อกันอีกว่าส้มแข...
-
มะขามแขก ชื่อสามัญAlexandria senna, Alexandrian senna, Indian senna, Tinnevelly senna มะขามแขก ชื่อวิทยาศาสตร์Senna alexandrina Mill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia angustifolia M.Vah...
-
ไซเลี่ยม ฮัสค์ (Psyllium Husk)คือใยอาหารอาหารชนิดละลายน้ำได้ (Soluble Fiber) DETOX ช่วยทำความสะอาดลำไส้ ไม่ให้พลังงาน ไม่มีน้ำตาล ไม่มีไขมัน มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ...